เมนู

อนุสยวรรคที่ 2


อรรถกถากุลสูตรที่ 3


วรรคที่ 2

กุลสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นาลํ แปลว่า ไม่ควร คือไม่เหมาะสม. บทว่า น มนาเปน
ความว่า ลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง โดยอาการไม่คอยเต็มใจ คือแสดง
อาการไม่พอใจนั่นเอง. สองบทว่า สนฺตมสฺส ปริคูหนฺติ ความว่า
ย่อมซ่อน คือย่อมปกปิด - ไทยธรรมแม้ที่มีอยู่แก่ภิกษุนั้น. บทว่า
อสกฺกจฺจํ เทนฺติ โน สกฺกจฺจํ ความว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเศร้าหมอง
หรือประณีตก็ตาม ให้ ไม่ใช่ด้วยมือของตน คือโดยอาการไม่ยำเกรง
ย่อมไม่ให้โดยอาการยำเกรง.
จบ อรรถกถากุลสูตรที่ 3

4. ปุคคสูตร


[14] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 7 จำพวกนี้ เป็นผู้ควร
ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร
กระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า 7 จำพวก
เป็นไฉน คือ อุภโตภาควิมุต 1 ปัญญาวิมุติ 1 กายสักยี 1 ทิฏฐิปปัตตะ
1 สัทธาวิมุติ 1 ธัมมานุสารี 1 สัทธานุสารี 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคล 7 จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
จบ ปุคคลสูตรที่ 4

อรรถกถาปุคคลสูตรที่ 4


ปุคคลสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้ง 2.
อธิบายว่า หลุดพ้นแล้วจากรูปกาย ด้วยอรูปสมาบัติ และหลุดพ้น
แล้วจากนามกายด้วยมรรค. บุคคลนั้นมี 5 จำพวก คือ บุคคลผู้
ออกจากอรูปสมาบัติ 4 แต่ละสมาบัติ แล้วพิจารณาสังขารแล้ว
บรรลุพระอรหัต 4 จำพวก, และพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธแล้ว